top of page
  • รูปภาพนักเขียนแอดมินแก้ว

6 ค่าพื้นฐานที่คุณต้องรู้ เมื่อเริ่มถ่ายภาพด้วย MODE PRO บนมือถือ

อัปเดตเมื่อ 29 ธ.ค. 2561

ตามคำเรียกร้องของเพื่อนๆ ที่อยากให้แก้วเขียนอธิบายวิธีการถ่ายรูปด้วย Mode Pro บนกล้องมือถือครับ ก่อนจะไปถ่ายรูปให้สวย เราต้องมาศึกษากันก่อนครับว่า เครื่องมือ และฟังค์ชั่นต่างๆ ที่จะปรากฏขึ้นมา เมื่อเราถ่ายด้วย โหมด Pro จะมีอะไรบ้าง


1. ค่าความไวแสง ( ค่า ISO )

- ความไวแสง ISO เป็นศัพท์กล้องที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ISO ย่อมาจาก “International Organisation for Standardsation” ซึ่งหมายถึงส่วนประกอบที่กำหนดมาตรฐานสากล ในการถ่ายภาพดิจิตอล ความไวแสง ISO จะใช้ในการกำหนดความไวต่อแสงของเซนเซอร์ ยิ่งค่า ISO สูงก็ยิ่งไวต่อแสงมาก แต่ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า จุดรบกวน หรือ Noise

ภาพนี้ใช้ ISO 100 ภาพจะสวยใส แทบไม่มีจุดรบกวนเลย

ภาพนี้แก้วใช้ ISO 3200 บอกเลยว่า Noise มาแบบแหลกละเอียดเลย


2. ความเร็วชัตเตอร์ ( Shutter Speed )

  • ค่าความเร็วชัตเตอร์ คือ ระยะเวลาที่ม่านชัตเตอร์ของกล้อง จะเปิดรับแสงค้างเอาไว้ ให้แก้วอธิบายง่ายๆ ก็คงจะประมาณนี้

  • ความเร็วชัตเตอร์สูง : ก็จะรับแสงได้น้อย (ต้องมีแสงสว่างมากพอ) จับภาพได้แม่นยำ ไม่ต้องกลัวกล้องสั่น สถานการณ์ที่เราจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ก็ยกตัวอย่างประมาณนี้ครับ - เมื่อเราต้องการจับภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง  - ภาพถ่ายกีฬา  - ภาพถ่ายรถยนตร์ในสนามแข่ง - ภาพถ่ายนก หรือแมลงที่กำลังบิน

อย่างภาพนี้ลมแรงมากแต่เราใช้ Shutter Speed สูงก็เลยจับภาพผมที่กำลังสะบัดได้นิ่งๆ

รถมอเตอร์ไซที่วิ่งมาด้วยความเร็ว เราก็สามารถ ถ่ายมาไม่ให้รถเบลอได้ด้วย SS ความเร็วสูง


ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ : ก็จะรับแสงได้มาก จับภาพต่อเนื่องนาน มือต้องนิ่ง หรือใช้ขาตั้งกล้อง สถานการณ์ที่เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ก็ยกตัวอย่างให้ประมาณนี้ - ต้องการได้ภาพที่สว่าง แต่ไม่ต้องการเพิ่มค่า ISO - การถ่ายภาพแสงยามค่ำคืน - การถ่ายภาพน้ำตกให้เป็นสายน้ำเนียนๆ สวยๆ - การถ่ายภาพแสงรถวิ่งบนถนนยามค่ำคืน

ภาพนี้ใช้ Shutter Speed ต่ำจนรถบนถนนกลายเป็นเส้นแสงแบบนี้ครับ

ใช้ Shutter Speed ต่ำเล็กน้อยเพื่อให้ก้อนเมฆไหลเป็นคลื่นๆ


3. การชดเชยแสง ( Exposure Value )

การชดเชยแสง หรือ EV ใน Mode Pro ของมือถือหลายๆ ยี่ห้อนั้น จะเป็นการรับลด หรือเพิ่มแสงอัตโนมัติที่อ้างอิงมาจาก โหมดวัดแสงที่แก้วจะพูดถึงในข้อต่อไป ซึ่งการปรับลดหรือเพิ่มความสว่างนั้น ตัวกล้องอาจจะปรับ Shutter Speed ให้เร็วขึ้นหรือช้าลง ตามความเหมาะสมที่เซนเซอร์วัดได้ครับ


4. จุดโฟกัส

การโฟกัส คืออีกหัวใจหนึ่งที่สำคัญมากของการถ่ายภาพ โดยโหมดของการโฟกัส ของโหมด Pro ในมือถือส่วนใหญ่จะมีอยู่ด้วยกัน 3 โหมดดังนี้ - AF-S : Auto Focus Single โฟกัสภาพถ่ายภาพเดียว - AF-C : Auto Focus Continuous โฟกัสแบบต่อเนื่อง (เมื่อมีการเคลื่อนกล้อง) - MF : Manual Focus โฟกัสแบบกำหนดเองด้วยมือ


5. อุณหภูมิสี ( White Balance )

  • White Balance หรือสมดุลแสงสีขาว เป็นระบบที่มีกับกล้อง DSLR , Mirrorless และ/หรือ กล้องใน Smartphone เป็นค่าที่ช่วยปรับแสงของภาพไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยน ซึ่งจะทำการปรับสมดุลแสงสีขาว

  • อันเนื่องจากแสงในธรรมชาติ เช่นในเวลากลางวัน ก็คือดวงอาทิตย์ หรือแสงที่เกิดจากมนุษย์ เช่นหลอดไฟประเภทต่างๆ ก็จะมีสีสันที่แตกต่างกัน และเวลาที่เราถ่ายภาพออกมานั้นอาจจะผิดเพี้ยนไปจากความจริง หรือตรงกับตาของมนุษย์ เพื่อเป็น การชดเชยแสงให้ตรงกับตา โดยสามารถปรับได้ดังนี้ (เรียงซ้ายไปขวา)

เรียงจากซ้ายไปขวาดังนี้

  • Auto

กล้องจะมีการปรับหรือแก้สีให้เราโดยอัตโนมัติเพื่อให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

  • Cloudy

สีของ Cloudy จะเป็นแสงของวันที่มีเมฆ หรือรวมไปทั้งหมอกและควันด้วย ทำให้แสงนั้นออกสีฟ้ามากกว่าปกติ เมื่อเราปรับเป็นแบบ Cloudy ก็จะแก้สีเป็นสีส้ม

  • Fluorestcent

สีของ Fluorestcent นั้นจะออกสีน้ำเงินถึงสีเขียว เมื่อปรับเป็นแบบ Fluorestcent ก็จะแก้สีเป็นสีม่วงๆ

  • Tungsten

สีของ Tungsten นั้นก็จะออกสีส้มผมจะเปรียบเทียบกับวัตถุที่มีสีขาวนะครับ เมื่อปรับเป็นแบบ Tungsten ก็จะแก้สีเป็นสีน้ำเงิน

  • Daylight

สีของ Daylight หรือสีของพระอาทิตย์ตอนกลางวัน จะออกสีฟ้าอ่อนๆ เมื่อปรับเป็นแบบ Daylight ก็จะแก้สีเป็นสีส้มเล็กน้อย

  • Shade

สีของ Shade คือแสงสีของการถ่ายภาพใต้ร่มเงาทำให้ภาพนั้นติดสีน้ำเงินมาก หากเราปรับเป็นแบบ Shade ก็จะแก้สีเป็นสีส้มซึ่งจะค่อนข้างเข้ม


5. การวัดแสง( Evaluative Metering )

- โดยปกติของกล้องทั่วไปแล้ว การวัดแสงจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะดังนี้


1. วัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Multi Zone Metering)

- นับว่าเป็นระบบวัดแสงที่นิยมที่สุด อาจจะเพราะว่ามันเป็นค่าเบื้องต้นของกล้องทุกตัว ฮ่า ๆ หลักการทำงานคือ กล้องแต่ละตัวมีตัวเลขและขนาดโซนหลากหลายรูปแบบแบ่งออกเป็นโซนตัวเลขหลาย ๆ แบบอยู่ทั่วบริเวณของภาพ หลังจากนั้นโปรเซสเซอร์จะประเมินค่าทั้งหมดเพื่อการวัดแสงที่ถูกต้อง พูดง่าย ๆ ก็วัดจากทั้งภาพนั่นแหละ เฉลี่ยให้ทั้งภาพไม่มืดหรือสว่างเกินไป ฉะนั้นเมื่อคุณอยู่ในระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Multi Zone Metering) แม้คุณจะเป็นมือใหม่โอกาสที่คุณจะได้ภาพแบบแสงแย่มาก ๆ นั้นก็จะน้อยลงครับ


2. วัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ (Center-weighted average metering)

- นี่คือรูปแบบการวัดแสงที่เก่าแก่ที่สุด ตามชื่อที่บอกไว้ คือมันวัดแสงเฉลี่ยจากกรอปภาพทั้งหมด แต่จะเน้นหนักตรงกลางภาพโดยเฉพาะ แม้ว่าอาจจะไม่ได้ฉลาดเท่าการวัดแสงจากแบบเฉลี่ยทั้งภาพแต่ความนิยมในอดีตก็ทำให้ระบบวัดแสงแบบนี้ยังคงอยู่ในกล้องถ่ายรูปแทบทุกตัว เพราะตากล้องที่ถ่ายภาพมานานอาจจะถนัดกับการวัดแสงแบบนี้มากกว่านั่นเอง

3. วัดแสงเฉพาะจุดหรือเฉพาะส่วน (Spot Metering)

- การวัดแสงเฉพาะจุดคือการวัดแสงแบบจุดเดียวในภาพ ซึ่งทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะตามจุดที่กล้องโฟกัสเลย แต่ก็อาจจะมีกล้อง D-SLR รุ่นเก่า ๆบางรุ่นที่จะวัดที่จุดโฟกัสจุดกลางที่เดียว แม้ว่าคุณปลี่ยนจุดโฟกัสไปที่อื่นแล้วก็ตาม การวัดแสงเฉพาะสุดเป็นตัวเลือกที่ดีมากครับสำหรับเมื่อต้องถ่ายภาพที่มีแสงแย่ ๆ ระบบวัดแสงแบบนี้จะแม่นยำมาก แต่ผู้ใช้ก็อาจจะต้องมีความรู้และต้องมีประสบการณ์ เพราะมันต้องอ่านค่าจากโทนสีกลางเสมอ ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้ค่าที่ถูกต้อง


Diagram สรุปผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราปรับค่าต่างๆ ของตัวกล้อง

Diagram สรุปผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราปรับค่าต่างๆ ของตัวกล้องครับ


[ ติดตาม Mobile Photographer ได้ที่ ] Medium : https://www.facebook.com/mobile.fotographer Readme : https://th.readme.me/id/MobilePhotographer IG : https://www.instagram.com/kaew.mobilefoto . #Mobilephotographer #โมบายโฟโตกราฟเฟอร

0 ความคิดเห็น

Commentaires


bottom of page