top of page
  • รูปภาพนักเขียนแอดมินแก้ว

รวมศัพท์ วงการกล้องมือถือ ถ้าอยากอ่านรีวิวให้สนุก ควรรู้ !

มีหลายคน Inbox มาสอบถามแอดมินเวลาที่เราอ่านบทความ หรือ อ่าน Review กล้องมือถือ จะมีศัพท์ในด้านการถ่ายภาพ และด้านเทคโนโลยีมาผสมค่อนข้างเยอะ

ยิ่งปีใหม่ๆ ศัพท์ใหม่ๆ ยิ่งเยอะเข้าไปใหญ่ วันนี้แอดมินรวบรวม ศัพท์ที่คิดว่าจำเป็นต่อการใช้ในการทำความเข้าใจเวลาอ่านบทความ หรือฝึกฝนการถ่ายภาพ มาฝากครับ
Pixel Binning

สงสัยกันไหมครับว่ากล้องทำไมชอบให้ความละเอียดมาเยอะๆ แบบ 48 , 64 , 108 Megapixel แต่พอถ่ายออกมาแล้วเหลือ 12MP เพราะว่ามาจากเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Pixel Binning นี่แหละครับ


สมมุติว่า เม็ดพิกเซล มีขนาด 0.6 ไมครอน บน Sensor 48MP มีการรวมเข้าด้วยกัน 4 เม็ด รอบข้างเป็นเม็ดเดียว ทำให้ได้ขนาดที่ใหญ่ขึ้นเป็น 1.6 ไมครอน รับแสงได้ดีขึ้นแน่นอน


และมันยังทำงานควบคู่กับ OCL บน Microlens เพื่อช่วยในการโฟกัสได้อีกด้วยนะครับ

OCL ( On Chip Len ) & PDAF ( Phase Detection Auto Focus )

สองเทคโนโลยีนี้ทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยให้การโฟกัสภาพทำด้วยรวดเร็วมากยิ่งขึ้น OCL คือการที่บน เม็ด Pixel จะถูกครอบด้วย Microlen ขนาดเล็ก ให้เม็ดสีที่อยู่ติดกัน จำนวน 4 เม็ด จะรับสีเดียวกัน


นอกจากจะโฟกัสรวดเร็วขึ้นแล้ว ในแต่ละเม็ด จะรับแสง และสีสันได้ดีขึ้น และตรงมากขึ้นโดยที่ ได้คุณภาพมากกว่าแต่สมัยก่อนด้วย

Wide Angle Lens กล้องมุมกว้าง ( กล้องหลัก )

ในสมาร์ทโฟนรุ่นกลาง ไปจนถึงรุ่น Top ในยุคนี้ จะให้กล้องถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูงมาให้ค่อนข้างเยอะ เทคโนโลยี Pixel Binning มักถูกจับมาใส่ ในเลนส์ตัวนี้ก่อนเสมอ


คุณสมบัติคือ จะมีช่วงองศาการรับภาพในระยะกลางที่ 28mm - 30mm แล้วแต่แบรนด์ มี ค่า f stop ที่ต่ำ รับแสงได้ดี มี Depth ในภาพสูง และมักมีความละเอียดสูงสุด

ULTRA WIDE ANGLE กล้องสำหรับรับภาพมุมกว้าง

กล้อง Ultra Wide Angle โดยส่วนใหญ่จะมีองศารับภาพอยู่ที่ 12mm-16mm แตกต่างกันไปแต่ละแบรนด์ ยิ่งกว้างจะยิ่งเกิด Distortion และ Ghost บริเวณขอบภาพได้ง่ายขึ้น


ล่าสุดได้มี Technology Liquid Len ช่วยลด Distortion ในการใช้กล้องตัวนี้ลงไปได้มาก ซึ่งอยู่ใน Huawei และ OnePlus ครับ


เหมาะแก่การถ่ายภาพที่ต้องได้ความอลังการ หรือ เก็บรายละเอียดรอบๆ ให้ได้ครบๆ แต่ต้องแลกมากับการที่มิติภาพจะแบนลง บางแบรนด์สามารถใช้กล้องตัวนี้แทนกล้อง Macro ได้ด้วย

Telephoto Lens เลนส์รับภาพระยะไกล

ตามชื่อเลยครับ ในสมาร์ทโฟนระดับเรือธงเกือบทั้งหมด จะมีกล้อง Telephoto มาให้ แต่จะให้มากี่ตัว มีลักษณะ แบบไหนก็แยกกันไปแต่ละแบรนด์


หลักๆ กล้องตัวนี้ใช้สำหรับการถ่ายภาพระยะไกล ถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ เข้ามาใน Frame ให้ได้มากที่ และยังช่วย ปรับ Perspective ของสิ่งที่เราถ่าย ให้ได้ความเป็นจริงมากที่สุดอีกด้วย ไม่บวม ไม่เบี้ยว


นอกจากนั้นหลายครั้งที่เลนส์ตัวนี้ถูกนำมาใช้เพื่อ ละลายฉากหลัง หรือถ่าย Portrait เพราะจะช่วยโฟกัสตัวแบบ ได้โดดเด่นมากกว่าปกติ

Optical Zoom การขยายภาพ ด้วยชิ้นเลนส์

การปรับระยะ Focal Length หรือองศารับภาพให้ไกลขึ้น ด้วยการ Switch ไปใช้กล้อง Telephoto ที่เป็น Prime Lens แบบ Log ระยะ


จะช่วยให้ได้รายละเอียดในภาพสูงสุด และยังคงมิติ และสีสันในภาพ เอาไว้ได้ใกล้เคียงกล้องหลัก Optical Zoom มักมีระยะ 2x , 3x , 5x และ 10x ใน Huawei P40 Pro Plus ซึ่งไกลสุด และดีที่สุดในเวลานี้

Periscope Lens

เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของกล้อง Telephoto ที่ไม่ใช่ลักษณะ Prime เลนส์ ( เลนส์คุณภาพสูงแบบ Lock ระยะ ) มักจะมี ค่า f ที่สูงกว่า Telephoto ปกติ


เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาจาก กล้องในเรือดำน้ำ ที่ใช้ กระจกสะท้อนภาพเข้ามา แล้ววางเลนส์เป็นแนวนอน เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้น ไม่งั้น Module กล้องจะบวมสุดๆ


แต่ข้อดีคือสามารถ ซูมเข้าแบบ Hybrid ได้ระยะเพิ่ม เช่น Periscope ตั้งต้น 5x แต่สามารถ ซูม Hybrid แบบ Lossless เข้าไปได้อีก 5x รวมเป็น 10x

Digital Zoom & Hybrid Zoom การซูมโดยใช้ Software และ กึ่ง Software

การถ่ายภาพระยะไกลด้วยการใช้ Software เข้ามาช่วย หากเป็นการใช้ Hybrid Zoom ตัวกล้องจะต้องมีระยะ Zoom Optical ที่ไกลอยู่พอสมควรแล้ว จึงใช้ Software ดึงระยะออกไปอีก แต่คุณภาพจะลดลงเล็กน้อย


ถ้าหากเป็น Digital Zoom ในกรณีที่ Sensor รับภาพ และจำนวนพิกเซล ทั้งใหญ่ ทั้งเยอะ การใช้ Digital Zoom ในระดับ 2x - 3x จะมีคุณภาพที่ถือว่ารับได้ แต่หากมากกว่านั้น จะสูญเสียรายละเอียดไปค่อนข้างมาก

Dynamic Range ขอบเขตรายละเอียดของภาพ

โดยปกติแล้วภาพ 1 ภาพจะมีย่านของรายละเอียดอยู่ด้วยกัน 3 ย่าน ได้แก่


Shadow รายละเอียดในส่วนมืด

Midtones รายละเอียดในส่วนสว่างระดับกลาง

Highlight รายละเอียดในส่วนที่สว่างเกือบถึงสีขาว


กล้องที่มี Dynamic Range ที่ดีจะสามารถเก็บรายละเอียดส่วนต่างๆ ในทุกอย่างความสว่างเอาไว้ได้ แต่ ไม่จำเป็นจะต้องไม่มีเงาเลย หรือไม่มี Highlight เลยนะครับ แบบนั้น ภาพคงแบนน่าดู

High Dynamic Range ( HDR ) การใช้ Software ช่วยเพิ่มขอบเขตของรายละเอียด

ปัจจุบัน HDR มีการนำ AI มาใช้ช่วยในการคำนวนระดับแสงมากขึ้น ว่าจะเพิ่มหรือจะลดส่วนไหน ให้พอดีมากที่สุด แต่ในสมัยก่อน จะเป็นการถ่ายภาพ 3 สภาพแสง Under , Correct , Over มา Merge เก็บย่านรายละเอียด จาก 3 ภาพนั้นมารวมกัน ให้ได้ภาพที่ดีที่สุด

Compress Artifact การสูญเสียรายละเอียดของภาพจากการตกแต่งไฟล์ หรือ ย่อไฟล์ผ่านสกุลไฟล์ต่างๆ

เวลาเพื่อนๆ ซูมภาพดู บางทีเราจะเห็นว่า บางภาพคือ คมจน ไฟล์แตก เพราะถูกอัด Sharpen มาจนคลื่นสัญญาณภาพ คงรูปเดิมเอาไว้ไม่ได้


หรือการ Compress ไฟล์คุณภาพ ต่ำ ซ้ำกันหลายๆ ครั้ง ยิ่งย่อ ยิ่งปรับขนาดไฟล์ให้เล็ก คุณภาพยิ่งเสีย

Noise Reduction Software การจัดการจุดรบกวนภาพ

จุดรบกวนในภาพมักเกิดจากการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ แล้วเราเร่ง ISO ขึ้นมา ไม่สอดคล้องกับ Shutter Speed ( มีการพิสูจน์แล้วว่า ISO เยอะ แต่ถ้าเราปรับ Shutter Speed ช่วยจนมีแสงสว่างมากพอ ภาพจะมี Noise ที่ต่ำลง ใน ISO ที่เท่ากัน )


Software เหล่านี้แต่ละแบรนด์พัฒนาขึ้นในแนวทางที่แตกต่างกันไป แต่ในปัจจุบัน แบรนด์ที่แอดมินคิดว่าทำได้ดีที่สุดในเรื่องนี้ 3 อันดับแรก คือ Huawei , Xiaomi , OPPO

Lens Distortions อัตตราการบิดเบี้ยวของเลนส์

Focal Length แต่ละแบบ จะมี Perspective และ Distortion ที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งเลนส์มุมกว้างมาก อัตราการบิดเบี้ยวของภาพก็จะสูงมากขึ้น มักจะเกิดกับ กล้อง Ultra Wide Angle หรือ Wide Angle คุณภาพต่ำ


ลักษณะคือ ขอบภาพจะมีอาการโค้งตามหน้า Optic อย่างชัดเจน หลายแบรนด์จึง ออก Software มาแก้ปัญหานี้ โดยการยอมเสียรายละเอียดขอบข้างไปบ้าง เพื่อให้ได้ ภาพที่คม และคุณภาพสม่ำเสมอกัน

Depth of Field ระดับความลึก และมิติของภาพ

ยิ่ง Focal Length ของระยะเลนส์สูง และค่า f stop ที่ต่ำลง จะยิ่งมี Depth of field มากขึ้นตามไปด้วย ทั้งฉากหน้า ฉากหลัง เวลาถ่ายภาพ Portrait แบบหน้าชัดหลังเบลอ


แบรนด์สมาร์ทโฟนต่างๆ จึงพัฒนา Software ในการละลายฉากหลังออกมา มากขึ้นๆ แม่นขึ้น ในทุกๆ ปี หลังๆ มีการใส่ ลูกเล่นอันเป็นเอกลักษณ์ ของแบรนด์กล้องที่ไปจับมือกันเข้ามาด้วย ยกตัวอย่าง Artistic Bokeh ของ Huawei x Leica และ Biotar ของ Vivo x ZEISS

COLORS SCIENCE การออกแบบโทนสี ของแต่ละแบรนด์

โทนสีภาพของแต่ละแบรนด์ที่ติดมาจาก โรงงานเลย ซึ่งไม่ได้มีแค่มือถือเท่านั้น แต่เริ่มต้นมาจากกล้องถ่ายภาพทั้งหมดในอุตสหกรรม แบรนด์แต่ละแบรนด์สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองจาก โทนสีเหล่านี้ ไม่มีอะไรดีกว่าด้อยกว่า ความชอบล้วนๆ ครับ

Shutter Lag อาการประมวลผลภาพไม่ทัน

การหน่วงที่เกิดขึ้นเมื่อเรากดชัตเตอร์ถ่ายภาพไปแล้ว 1 ภาพ และต้องการจะกดภาพต่อไป แต่ว่า Smartphone ยังประมวลผลภาพแรกไม่สำเร็จ ทำให้ เรากดถ่ายภาพต่อไปไม่ได้ มักเกิดกับการถ่ายภาพด้วย Resolution ที่สูง หรือ เปิด HDR , หรือที่แสงน้อย

 
นอกเหนือจากการเรียนรู้ศัพท์เพื่อเอาไว้อ่านรีวิวต่างๆ แล้ว จริงๆ ศัพท์พวกนี้ยังช่วยให้เรา เข้าใจ ฟังค์ชั่นการใช้งานต่างๆ ในตัวกล้อง ในรุ่นใหม่ๆ มากขึ้นด้วย เวลาซื้อมือถือใหม่มา ที่ Features เยอะๆ จะได้ใช้เป็น และเข้าใจหลักการทำงานของมันครับ

[ ติดตาม Mobile Photographer ได้ที่ ]

IG : kaew.ravie

0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page