top of page
  • รูปภาพนักเขียนแอดมินแก้ว

OnePlus 11 | การกลับมาที่แท้จริง ! ไว้ใจได้ทุกกล้อง ถ่าย Portrait ดีที่สุดตั้งแต่ OnePlus เคยทำมา

สวัสดีครับทุกคน วันนี้แก้วอยู่กับ Smartphone จากแบรนด์ที่ ไม่ได้จับใช้งานมานานเป็นปี ๆ แล้ว นั่นก็คือ OnePlus นั่นเองครับ และรุ่นที่อยู่ในมือตอนนี้ก็คือ OnePlus 11 Flagship ตัวล่าสุดประจำปีนี้นั่นเอง ซึ่งแนวทางการออก Flagship ในปีนี้ของทาง OnePlus คือ ไม่มีรุ่นย่อย ขายตัวเดียว แล้วแยก Spec Storage กับ RAM แทน ซึ่งแก้วเองก็แอบชอบแนวที่นี้มาก ๆ ไปดูรีวิวกันครับ

SPECIFICATION
  • Dimension & Weight : 163.1 x 74.1 x 8.53 mm / 205 g

  • Display : AMOLED LTPO 3.0 | 6.7 inches | QHD+ |120Hz | 1B Optical fingerprint scanner under the screen | HDR 10+

  • CPU : Snapdragon 8 Gen 2 | RAM LPDDR5X 8GB/16GB

  • Storage : 128GB (UFS 3.1) / 256GB (UFS 4.0)

  • Connectivity : 5G, Wi-Fi 6 (802.11ax), Bluetooth 5.3, NFC, USB-Type C 2.0

  • Speakers Dolby Atmos, Spatial Audio

  • Battery : 5000 mAh | Fast Charge 100W | Non Wireless Charge

  • Operation System Android 13 | OxygenOS 13.0

  • ขนาด / น้ำหนัก : 163.1 x 74.1 x 8.53 มม. / 205 กรัม

DESIGN : การออกแบบ

การออกแบบตัวเครื่องของ OnePlus 11 ตัวนี้ ในความรู้สึกของแก้วนะ คือถ้าคนชอบ ก็คือชอบเลย ไม่ชอบก็คือไม่เอาเลย Design มันดูแปลก แต่ในขณะเดียวกัน มันก็สวยและมีเอกลักษณ์พอสมควร ประมาณว่า ถ้าวางบนโต๊ะรวม ๆ กับเครื่องอื่น ก็จะ Recognize ได้ทันทีว่านี่แหละ OnePlus

สีตัวเครื่องที่แก้วได้มานั้น เป็นสี Eternal Green ซึ่งดูดีเลยทีเดียว มันไม่ดูฉูดฉาด หรือว่าตะโกนจนเกินไป แล้วก็ยังใช้ได้ทุกเพศ มีความ Unisex อยู่ในตัวค่อนข้างเยอะ เวลาจับถือ หรือ Match กับการแต่งตัวเราก็ทำได้ไม่ยาก

ส่วนที่มีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในตัวเครื่องก็คือ Module กล้อง ที่เปลี่ยนจาก ทรงออกเหลี่ยม ๆ มาเป็นวงกลมแบบนี้ บริเวณตรงกลางของ Module กล้องจะมีการเล่นลูกเล่น คล้าย ๆ Starlight Glitter สะท้อนแสงระยิบระยิบ พร้อม Logo Hasselblad และบริเวณขอบของ Module กล้องก็จะมี การเล่น Pattern สีเหลี่ยม ล้อมรอบ Module กล้องไว้ คล้าย ๆ กับ Warp Portal

Frame ของตัวเครื่อง เป็น Aluminum ที่ได้รับการขัดแต่งมาสวย เก็บมุมโค้ง เข้ามือเวลาจับถือได้ง่ายขึ้น โดยทางทีมออกแบบของ OnePlus ได้เรียกมันว่า Extreme Ergonomic Design ซึ่งหลังจากที่แก้วได้ลองใช้งานมา 2 สัปดาห์เต็ม ๆ Grip ในการจับถือตัวเครื่องแบบการใช้งานปกติ และ ลักษณะคีบนิ้วเวลาถ่ายภาพ ทำออกมาได้ดีมาก Weight Balance ก็ทำออกมาได้ดี น้ำหนัก ไม่ไปกองที่จุดใด จุดหนึ่งของตัวเครื่องมากจนเกินไป

บริเวณด้านล่างของตัวเครื่องก็จะเป็นที่อยู่ของ Port USB-C 2.0 | Stereo Speaker | Microphone | Dual-Sim Card Slot ซึ่งช่องลำโพงให้มาใหญ่เบิ้มมาก ๆ และ บริเวณด้านบน ก็จะมีช่องลำโพงอีกหนึ่งช่อง พร้อมกับช่องไมโครโฟนครับ

และบริเวณตัวเครื่องด้านขวาบน Alert Slider กลับมาแล้ว หลังจากแฟน ๆ OnePlus เรียกร้องกันหนักมาก ในตอนที่ OnePlus 10 Pro ตัด ฟีเจอร์นี้ออกไป เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่หลายคน ใช้ OnePlus เพราะสิ่งนี้เลยก็มีนะ

DISPLAY : หน้าจอ

หน้าจอของ OnePlus 11 มาในขนาด 6.7 นิ้ว ขนาด มาตราฐานของ Flagship Smartphone ในปีนี้ โดยจะใช้ Panel หน้าจอเป็น AMOLED LTPO 3.0 ซึ่งถือว่าล้ำมาก ๆ ในระดับราคาเท่านี้นะครับ มีค่า Refresh Rate อยู่ที่ 120Hz และ Resolution หน้าจออยู่ที่ QHD+

คุณภาพของหน้าจอ แก้วต้องใช้คำว่า ไร้ที่ติ Smartphone ระดับ Flagship จากทาง OnePlus ทุกรุ่นที่เคยผ่านมือแก้วมา เรื่องหน้าจอคือหายห่วง Touch ไหลลื่น ตัว Fingerprint Scanner ถึงแม้ว่าจะยังให้มาเป็น Optical Standard แต่ทำงานได้รวดเร็ว และแม่นยำมาก ๆ

เรื่องของความตรงของสีสันหน้าจอ มีขอบเขตสีที่ 1B colors รองรับ Dolby Vision และ HDR10+ ให้สีสันที่ดี Contrast สวย สีสันค่อนข้างตรงกับความเป็นจริงเวลาถ่ายภาพมา เช็คไฟล์บนจอ แล้วเอาไปเปิดกับหน้าจออื่นก็ตรงดี

การใช้งานหน้าจอด้าน Entertainment ไม่ว่าจะเป็นการดู Content Streaming ต่าง ๆ Youtube , Netflix , HBO GO สามารถดูได้ที่ความละเอียดสูงสุด และยังมี ฟีเจอร์ในการปรับแต่งภาพหน้าจอ เร่งสี เร่งความคมให้ใช้งานด้วยนะครับ

เวลานำไปใช้งานกลางแจ้ง ด้วยความสว่างหน้าจอสูงสุด Peak Brightness อยู่ที่ 1300 nits ทำให้เห็นรายละเอียดหน้าจอได้ค่อนข้างชัดเจน รวมไปถึง ระยะที่ Peak Brightness ทำงานที่ความสว่างสูงสุด ถ้าอากาศไม่ร้อนมาก จะได้เกิน 5 นาทีเป็นอย่างต่ำครับ

CAMERA : กล้องถ่ายภาพ

ชุดกล้องหลังของ OnePlus 11 นั้น จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ตัว ซึ่งถือว่าเป็น Prime Lens ที่ใช้ Sensor คุณภาพสูงทั้งหมดเลย โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

  • Main Camera 50 MP | f/1.8 | 24mm | Sensor size 1/1.56 | multi-directional PDAF, OIS

  • Medium Telephoto 32 MP, f/2.0 | 48mm | Sensor size 1/2.74"| PDAF, 2x optical zoom

  • Ultra Wide Angle 48 MP | f/2.2 | 115˚ | 1/2.0" | AF

  • Front Camera 16MP | f/2.5 | 25mm

ถ้าเราสังเกตรายละเอียดในส่วนของชุดกล้องถ่ายภาพใน OnePlus 11 จะเห็นได้ว่า ได้มีการยกเครื่องใหม่หมดเลย ไม่มีการลากใช้ Sensor ชุดเก่า ๆ อีกหลาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ สำหรับผู้ใช้งาน นอกจากนั้น Color Science และ Color Profile ที่ร่วมมือกันทำ กับ Hasselblad ก็มีการปรับให้ลงตัวมากขึ้น ไปดูภาพจากกล้องแต่ล่ะตัวกันครับ

MAIN CAMERA : กล้องหลัก 50MP | IMX890

งั้นเรามาเริ่มดูภาพจากกล้องหลัก ความละเอียด 50MP ตัวนี้กันเลยครับ โดยแก้วขอเริ่มจากสิ่งที่แก้วสังเกตเห็นได้ชัดเจน ตั้งแต่ถ่ายภาพไป 20-30 ภาพแรก นั่นก็คือ Picture Profile ที่ทาง Hasselblad จูน มาให้ใหม่นั้น มันดูเข้าที่ เข้าทาง มากขึ้นกว่าเดิมพอสมควร

โทนสีภาพที่สีไม่สดจนเกินไป Detail เวลาเราถ่ายภาพสิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่เป็นเฉดแบบ แดงเข้ม เหลืองเข้ม Texture จะไม่จม ไม่หาย แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำให้โทนสีภาพจืดจนเกินไป Balance มาได้กำลังดี

Auto White Balance ในกล้องหลัก ทำงานได้ดี ในทุกสภาพแสง ตั้งแต่ช่วงแดดแรง ๆ ไปจนถึงในที่แสงน้อย เรื่องความแม่นยำของค่าสีถือว่าไว้ใจได้ ว่าจะไม่มีการเดี๋ยวเหลือง เดี๋ยวแดง เดี๋ยวฟ้า อะไรแบบนั้นแน่นอน

Auto Exposure ใน Mode การถ่ายภาพปกตินั้น การวัดแสงค่อนข้างแม่นยำ แต่ลักษณะการวัดแสงจะเป็นการวัดแบบติด Over นิด ๆ แล้วใช้ Software HDR กดแสงลง ดึง Detail ในภาพกลับมาแทน ซึ่ง เรื่อง Auto Exposure เนี่ย มีประเด็นอีก ไว้พูดถึงรวมกับการถ่ายภาพ Portrait อีกที

ลักษณะในการ Process ไฟล์ภาพใน Mode auto นั้น จะทำออกมาในสไตล์แบบ " Fast Food " พร้อมรับประทาน คือ หมายความว่า จะมีการเติม Sharpness และ Clarity เข้ามาให้ประมาณหนึ่ง เวลาโพสลง Social หรือดูบนจอ ภาพจะดูคมกำลังดี ตัว Dynamic Range ของภาพเมื่อเปิด HDR ทำได้ค่อนข้างดีมาก โดยที่ไม่ดู Over process จนเกินไปด้วย แม้จะเป็น Shot ที่ถ่ายภาพย้อนแสงก็ตาม

นอกจากนั้น ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพในสภาพแสงใดก็แล้วแต่ เราจะสังเกตได้ว่า Texture ของสิ่งต่างที่เราถ่ายนั้น จะมีรายละเอียดที่น้อยลงเล็กน้อย เหมือนโดน Software Noise Reduction จัดการไปหมด แต่ก็แลกมาด้วย ภาพที่ค่อนข้างใสมาก ๆ แทน ตรงนี้ก็ Trade off กันไปครับ

Depth of field ของกล้องหลักตัวนี้ ต้องบอกว่า ไม่แย่ แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นกว่า Smartphone ในระดับราคาเดียวกัน เพราะว่า Sensor IMX890 นั้น มัน Base มาจาก IMX766 ซึ่งมีขนาด Sensor ใกล้เคียงกัน และ f/stop ของเลนส์ก็อยู่ที่ 1.8 ตามมาตราฐาน Flagship Smartphone

การถ่ายภาพใน Mode Hi-Res ของกล้องหลักตัวนี้ ให้รายละเอียดไฟล์ภาพได้ดี เอาไป Crop ใช้งานได้ แต่ว่า Software Auto HDR จะทำงานน้อยกว่าใน Mode Auto ทำให้ เรื่องของการวัดแสง ผู้ถ่ายจะต้องคุมแสงเอง ไม่ให้ Shadow ทึบ และ Highlight ขาวจนเกินไป ไปหวังพึ่ง HDR อย่างเดียวไม่ได้ และข้อควรระวังสุดท้ายคือ อย่าถ่ายในตอนแสงน้อย เพราะ Noise Reduction ไม่ทำงานในโหมดนี้นะครับ

MEDIUM TELEPHOTO 2x : เทเลโฟโต้ระยะกลาง 32MP

กล้อง Telephoto 2x ความละเอียด 32MP ตัวนี้จะใช้ Sensor IMX709 ซึ่งเห็นเป็น Sensor กล้องหน้าของ Smartphone รุ่น Flagship หลายตัว โดยคุณภาพสำหรับภาพนิ่งนั้น ตอนเป็นกล้องหน้าก็ถือว่าใช้ได้นะ ไม่แย่เลย

OnePlus 11 ได้หยิบ Sensor ตัวนี้มาประกบเข้ากับเลนส์ที่มีค่า f/stop อยู่ที่ 2.0 และมี Focal Length ประมาณ 48mm โทนสี มีความใกล้เคียงกล้องหลักมาก ๆ ซึ่ง หลังจากถ่ายภาพด้วยกล้องตัวนี้มาเยอะพอสมควร แก้วรู้สึกว่า Telephoto 2x ใน OnePlus 11 มันมีความเอนกประสงค์ในการใช้งาน มากกว่าเพียงแค่เป็นกล้องเอาไว้ถ่าย Portrait หรือเอาไว้ซูมเพียงเท่านั้น

เรื่องแรกก็คือ Minimum focus distance มันใกล้มาก ๆ อยู่ที่ไม่เกิน 20cm ทำให้เวลาจะเอาไปถ่ายภาพสินค้า ให้มี Perspective ที่สวย ไม่บวม และมี Depth of field ประมาณหนึ่งในฉากหลังนั้น ก็ทำได้ดี

เรื่องที่สองก็คือ เรื่องของ Zoom ครับ คือ ตอนที่แก้วลอง Test การ Zoom ในระยะที่มันไกลเกินระดับ Optical 2x เนี่ย ไม่คาดหวังว่าคุณภาพไฟล์ภาพมันจะดี แต่พอลองใช้งานจริง ๆ ผลลัพท์ที่ได้ คือ ในระยะ 5x ยังถือว่าเป็น Lossless Hybrid Zoom ได้อยู่ ไฟล์ค่อนข้างดีเลย โดยเฉพาะการถ่ายภาพที่ติดอะไรที่เป็นตัวอักษรเข้ามา AI ของกล้อง สามารถ Process ตัวอักษรให้ออกมาสมบูรณ์และอ่านได้ง่าย เอาจริง ๆ ยัน 10x เลยก็ยังไหวครับ

และด้วยความที่ มัน Zoom Lossless ได้ระยะประมาณ 5x ทำให้ คนที่ชอบถ่ายภาพวิวเมือง Urban Photography หรือ Street Photography จะมีระยะช่วง Zoom ให้เลือกใช้ เยอะกว่าเดิม จากที่คิดว่าต้องใช้ที่ 2x ตลอด ก็เปลี่ยนมาใช้ที่ 3x , 4x , 5x ได้ โดยที่ไม่สูญเสียรายละเอียดมากจนเกินไป แต่จุดที่น่าเสียดายมาก ๆ ก็มีเหมือนกันคือ ไม่สามารถถ่าย Hi-Res ด้วยกล้องตัวนี้ได้ครับ

PORTRAIT PHOTOGRAPHY : การถ่ายภาพบุคคล

ปีนี้ Smartphone ที่ถ่ายภาพบุคคลได้ดี และสนุกเนี่ย ออกมากันถี่มากจริง ๆ ซึ่ง OnePlus 11 ก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ ซึ่งมันค่อนข้างฉีกจากแนวทางที่เราได้เห็น OnePlus ก่อนหน้านี้ ว่าไม่ได้เน้น Portrait อะไรมาก แต่พอใน OnePlus 11 สามารถพลิกกลับมา ทำได้ทัดเทียมกับ Flagship จากแบรนด์อื่น ๆ ได้สบาย

ลักษณะของภาพ Portrait ที่เราจะได้จาก OnePlus 11 นั้น ค่อนข้างจะให้ความเป็นธรรมชาติ ไม่ดู Fancy หวือหวาด้วย Bokeh อลังการแต่สวย และมีเอกลักษณ์ จุดแรกที่แก้วค่อนข้างชอบ คือ Skintone ลักษณะการ Process ผิว นอกจากสีผิวจะค่อนข้างดูจริง ดูเป็นธรรมชาติมากแล้ว ต่อให้เราเปิด Beauty Mode ประมาณ 20% - 30% Skin Texture ก็ยังอยู่ ไม่วุ้น ไม่เละ

ตัว Software HDR เวลาเราถ่ายภาพย้อนแสงนั้น คือ มันสามารถจะเติมแสงในส่วนใบหน้า และผิวได้ดี ให้ถ่ายย้อนแสงแล้วหน้าไม่มืด แต่ปัญหาที่แก้วเจออยู่บ้างก็คือความแม่นยำของ HDR ใน Mode Portrait บางทีมัน Process จนหน้าออกมาขาว จนฟุ้ง บางทีก็พอดี บางทีก็ Under ซึ่งถ้าไม่ใช่คนที่ชอบถ่ายย้อนแสงเป็นชีวิตจิตใจอยู่ตลอดเวลา อาจจะไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหาอะไร

ระยะเลนส์ที่เราสามารถใช้ Portrait Mode ได้นั้น จะใช้ได้ด้วยกันทั้งหมด 2 ระยะ ก็คือ 1x ที่ Wide Angle และ 2x Medium Telephoto ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว เวลาถ่ายภาพบุคคลแทบจะใช้ที่ระยะ 2x หรือ 48mm ตลอดเลย เพราะว่า ได้ Perspective ที่ดี และภาพไม่แคบจนเกินไป ระยะ 1x จะเอาไว้ใช้ถ่ายช่วงแสงน้อย เพราะกล้องหลักเก็บแสงได้ดีกว่า

ในเรื่องของการละลายฉากหลังด้วย Software Bokeh จุดนี้คือ สิ่งที่ OnePlus 11 ทำได้ดีที่สุด ตั้งแต่แก้วเคยจับ OnePlus มาเลย ตัดขอบได้คม สวย มีการไล่ระดับของมิติ Depth of field ที่กำลังดี

ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีลูกเล่นในเรื่องของการปรับ Shape ของตัว Bokeh เหมือนแบรนด์อื่น แต่สามารถปรับระดับความเบลอได้ โดย Setup ที่แก้วใช้ในการถ่ายภาพ Portrait บ่อย ๆ ถ้าเป็น Close up shot ในระยะครึ่งตัว จะปรับไปที่ f/2.8 แต่ถ้าเป็นภาพในระยะ ประมาณ 70% ของร่างกาย หรือ Full Body แก้วจะปรับไปที่ f/4 จะได้ไม่ลอยมาก

มีหนึ่งเรื่องที่ต้องบอกทุกคนเอาไว้ก่อนว่า ลักษณะในการวัดแสง ใน Mode Portrait ของ OnePlus 11 นั้น ค่อนข้างแปลก มีหลายครั้งที่แก้วถ่ายภาพกลางแจ้ง ที่แสงแดดจะกระทบตัวแบบโดยตรง ตัว Auto Exposure เหมือนจะวัดเอาไว้ over ประมาณ 1 stop อยู่ตลอด ทำให้บางที ภาพที่ได้ Skin texture จะหายเลย แก้วเลยแนะนำว่า ในระหว่างที่ OnePlus จะออก Software มาแก้ ให้ใช้การแตะที่จุดที่สว่างสุดของตัวแบบ แล้วค่อยกด Shutter ไปก่อน จะได้ภาพที่ Correct Exposure ที่สุดครับ

เสริม Portrait Style ด้วย Filter Serenity

นอกจากโทนสีแบบ Standard ที่ทาง Hasselblad มา จูนให้ OnePlus ออกมาได้อย่างน่าประจำใจแล้ว ยังมี Master Filter ที่ทาง Hasselblad หยิบเอกลักษณ์ของตัวเอง มาเป็น Filter ให้เราได้เลือกใช้กัน โดยส่วนตัวแล้ว แก้วชอบ Filter Serenity มากที่สุด

เป็น Filter สีที่ สามารถคุม Highlight และ Detail บริเวณ Skintone ได้ดีมาก ๆ รวมไปถึง Contrast ที่มีการไล่ระดับสวย ในส่วนมืดของภาพ ยังมีรายละเอียดเก็บเอาไว้ได้ค่อนข้างเยอะทีเดียว

เวลาใช้ Filter นี้ สีผิวของแบบจะออกติดแดงมากขึ้นเล็กน้อย ส่วนสว่างในย่าน Midtone และ Highlight ก็จะมีสีแดงมากขึ้น แต่ส่วน Shadow จะออกสีเขียว อมฟ้า อ่อน ๆ ให้ความรู้สึกเป็น Film Look ที่ดีมาก


การถ่ายภาพ Portrait ในที่แสงน้อย ทั้งในกล้องหลัก และ กล้อง Telephoto 2x ทำออกมาได้ดีมาก ๆ ลักษณะการ Process ภาพนั้น จะไม่ได้มีความพยายามจะแก้สี Skintone ให้ออกมาตรงอะไรมากนัก จะเน้นให้ตรงกับสิ่งที่ตาเราเห็นเป็นหลัก เช่น ถ้าแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องตัวแบบอยู่เป็นสีเหลือง Skintone ก็จะติดอมเหลืองออกมานิด ๆ การตัดขอบละลายฉากหลังในเวลากลางคืน ก็ยังทำได้ดีไม่แพ้กับตอนกลางวัน อันนี้สบายใจหายห่วงได้เลย

แต่ว่าถ้าเราหาแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นสีขาว สักประมาณ 4800K หรือ 5000K ตัว Skintone ก็จะกลับมามีสีสันที่ตรงได้ค่อนข้างง่าย ใครที่ชอบถ่ายภาพ Portrait ตอนกลางคืน แต่อยากได้สีผิวตรง ๆ เหมือนกลางวัน แนะนำให้ หาแฟลช มือถืออีกสักดวง มาเป็น Key Light จะช่วยให้ง่ายมากขึ้น

แต่ถ้าใครอยากจะถ่าย Portrait แบบที่ใช้แฟลช จากตัวกล้องเองแล้วล่ะก็ ขอแสดงความเสียใจด้วยว่า ใน Mode Portrait นั้น เปิดแฟลชไม่ได้นะครับ และต่อให้เปิดได้ ความแรง และความนุ่มของแฟลช ก็ไม่ได้เหมาะกับการเอามาใช้ในการถ่ายภาพบุคคล สักเท่าไหร่

ULTRA WIDE ANGLE CAMERA : กล้องมุมกว้างพิเศษ 48MP

มากันที่กล้องตัวสุดท้ายในชุดกล้องหลังของ OnePlus 11 นั่นก็คือ กล้อง Ultra Wide Angle ความละเอียด 48MP นั่นเองครับ สำหรับกล้องตัวนี้จะใช้ Sensor IMX581 ซึ่งใน Entry Level Smartphone หลาย ๆ แบรนด์ ใช้มันเป็นกล้องหลักเลยด้วยนะ

คุณภาพไฟล์ของกล้อง Ultra Wide Angle ตัวนี้ แก้วค่อนข้างประทับใจเลยนะ ตัวแก้วเองจะมีภาพจำ Ultra Wide Angle ดี ๆ อย่างที่อยู่ใน OnePlus 9 Pro หรือ OPPO Find X5 Pro แต่พอเอาไฟล์ภาพเก่า ๆ มาเปิดดู ค่อนข้างจะสูสีกับ OPPO Find X5 Pro เลยทีเดียว

Perspective และ Distortion ด้วยความที่ องศาการรับภาพของกล้อง Ultra Wide Angle ตัวนี้ ไม่ได้กว้างมาก อยู่ที่ 115 ํ ทำให้คุม Perspective ได้ค่อนข้างง่าย Distortion ก็จัดการมาได้ค่อนข้างดี เวลาเอาไปถ่ายภาพพวกงานสถาปัตยกรรม บ้านก็ไม่เบี้ยว

Dynamic Range เมื่อใช้งานถ่ายภาพร่วมกับ Auto HDR ให้ผลลัพท์ที่ค่อนข้างน่าพอใจ ได้รายละเอียดในส่วน Shadow และส่วน Highlight ได้ครบถ้วน โดยที่ไม่ขุด Detail ย่านความสว่างต่าง ๆ ขึ้นมามากเกินไป

ความคมของภาพ ต้องบอกว่าเป็นกล้อง Ultra Wide ที่ค่อนข้างจะคมมาก โดยที่ความคมนั้น มันจะมาจากการเติม Sharpness เข้าไปในภาพอยู่พอสมควร แต่ยังไม่ถึงขนาดว่าจะเจอ Pixel Artifact นะครับ ขอบภาพประมาณ 5% เราอาจจะยังพอเห็นความ Soft อยู่บ้าง แต่ไม่ได้ถึงขนาดว่าฟุ้งจน Detail หาย

สำหรับคุณภาพของ Optic และ Coating คือ ถ้าเราถ่ายภาพตามแนวแสงปกติ ไม่ได้ย้อนแสงใดใด จะไม่มีอาการขอบเขียว ขอบม่วงมาให้กวนใจ ไฟล์ภาพใสใช้งานได้ แต่ถ้าเราถ่ายภาพย้อนแสงแบบจัง ๆเมื่อไหร่ ถ้าเป็นใน Mode Auto คือ โอเคนะ ไม่เจอ ขอบเขียว ขอบม่วง แต่ถ้าเป็นใน RAW File เราจะเจออาการนี้อยู่บ้าง แก้วคิดว่าใน Mode Auto OnePlus คงจะเขียน Software มาจัดการปัญหาในส่วนนี้ให้แล้ว ใครอยากย้อนแสง ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องถ่าย RAW นะครับ

XPAN MODE & TILT SHIFT MODE

XPAN ยังคงเป็น Mode ที่แก้วรู้สึก Enjoy เหมือนเดิมเวลาได้หยิบเอาออกมาถ่ายภาพ นอกจากเรื่องของ Feeling เวลาถ่ายแล้ว ด้วยความที่สัดส่วนภาพแบบนี้มันค่อนข้างพิเศษ และใกล้เคียงภาพยนตร์ที่ 21:9 ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว แก้วชอบสัดส่วนภาพแนวนี้มาก

ซึ่ง สิ่งที่ได้รับการปรับปรุงใน Mode XPAN ตัวนี้ คือ เขาจะเปลี่ยนมาใช้ กล้องหลักใน Mode Hi-Res แล้ว Crop ออกมาในสัดส่วนแบบ XPAN ทำให้ได้รายละเอียดสูงสุด การ Control Exposure หรือ การคุมแสง สามารถทำได้เพียง EV-3 ถึง EV+3 ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่พอที่กด Highlight ลงมาได้สุด แต่ก็นั่นแหละ มันได้ฟีลกล้องฟิล์ม ที่เราเปลี่ยน ISO ไม่ได้ดีเหมือนกันครับ

พอเปลี่ยนมาใช้กล้องหลักในการถ่ายภาพใน Mode XPAN การจะเล่นกับ Depth of field ให้ภาพดูมีมิติก็ทำได้ง่ายมากขึ้น และยังให้ Look ที่ดูเป็นภาพยนตร์มากขึ้นด้วยเวลาที่ฉากหลังมีความเบลอ

หา Scene ที่มันดู Cinematic ชดเชยแสงลงมาให้มีส่วนมืด ส่วนสว่างในภาพ ที่ถ่ายถอดอารมณ์ความรู้สึกได้ แล้วก็สนุกไปกับมัน เหมาะกับการถ่ายภาพ Landscape และ Urban Photography มากๆ

ใน XPAN Mode นอกจากการปรับชดเชยแสงแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เราทำได้ก็คือ เปลี่ยนโทนสีภาพจากภาพสีตามปกติ มาเป็นโทนขาวดำ ซึ่งโทนขาวดำที่ทาง Hasselblad ออกแบบมาให้นั้น จะมี Contrast ที่ค่อนข้างกลาง ๆ ไม่ได้นุ่มมาก และก็ไม่ได้ทึบจนเกินไป ในส่วนมืดเรายังพอเห็น ความ Fade ได้อยู่บ้าง

Mode Tilt-Shift ที่ทำให้เราสามารถ ถ่ายภาพออกมาเหมือนกับวัตถุในภาพเป็นของเล่น ที่ขนาดเล็กจิ๋วได้ โดยที่เราสามารถจะปรับตำแหน่งการเบลอ และระดับความเบลอได้ด้วยตัวเอง

MACRO PHOTOGRAPHY : การถ่ายภาพสิ่งของในระยะใกล้

สำหรับการถ่ายภาพในระยะใกล้ หรือพวก Macro Photography นั้น เราสามารถทำได้ด้วยกันอยู่ทั้งหมด 2 วิธีครับ วิธีแรกคือ ให้ใช้ กล้อง Ultra Wide Angle ขยับเข้าไปจ่อที่วัตถุในระยะห่างประมาณ 4cm ซึ่งควรจะจัดวัตถุที่เราถ่ายเอาไว้ตรงกลาง เพื่อที่จะได้ ไม่โดน Effect ความยืดของเลนส์ Ultra Wide Angle

อีกหนึ่งวิธีคือ ให้ใช้การ Hybrid Zoom 1.9x ในการถ่าย ลักษณะการถ่าย Macro รูปแบบนี้ จะได้ช่วงชัดของภาพ ที่มากกว่า ขอบภาพไม่ฟุ้ง Perspective ตรง และมี Depth of field ที่สวยงามกว่าครับ

ถ้าเป็นกลางแจ้ง หรือ ถ่ายดอกไม้ จะใช้ Ultra Wide Angle ก็ได้ เพราะว่าเข้าใกล้ได้มากกว่า แต่ถ้าอยู่ในสภาพแสงที่ไม่ดีมากนัก หรือต้องใช้ไฟช่วย แก้วก็แนะนำให้ใช้การ Hybrid Zoom 3x ได้คุณภาพที่สูงกว่าครับ

LOW LIGHT PHOTOGRAPHY : การถ่ายภาพในที่แสงน้อย

สำหรับการถ่ายภาพในที่แสงน้อยของ OnePlus 11 ด้วย Night Mode ลักษณะในการ Process ไฟล์ภาพออกมา การเติม Clarity และ Sharpness เข้าไปถือว่าน้อยกว่า Flagship แบรนด์อื่น ๆ อยู่เยอะพอสมควร โดยสามารถจะใช้งาน Night Mode ได้ในกล้องทุกตัวเลย รวมถึงกล้องหน้าด้วยนะครับ

เวลาเราใช้ Night Mode ตัว Software ของกล้องจะทำการเฉลี่ยแสงในภาพ ให้แต่ละส่วน ไม่ว่าจะเป็นจุดมืด และจุดสว่างในภาพยังคงมีรายละเอียดที่ดีอยู่ อาจจะมีส่วนที่ Texture หายไปบ้าง เพราะแน่นอนว่าเวลากลางคืน Software Noise Reduction ก็ทำจะงานหนักกว่าช่วงกลางวันอยู่แล้ว แต่ยังคงรักษารายละเอียดของ Shape Outline เอาไว้ได้เป็นอย่างดี พวกตัวอักษร พวกเหลี่ยมมุมของตัวตึกอาคาร จะยังชัดเจนเหมือนเดิม

คุณภาพของไฟล์ภาพที่เราถ่ายได้ใน Night Mode ก็จะลดหลั่นกันลงในแต่ล่ะเลนส์ แต่ในภาพรวมต้องบอกว่า ทำออกมาได้ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก ๆ ทั้งความใสของไฟล์ และรายละเอียด โดยที่กล้องหลักคุณภาพดีที่สุด รองลงมาคือ Telephoto 2x และปิดท้ายด้วย Ultra Wide Angle

แต่แก้วขอย้ำตัว Ultra Wide Angle สักนิดหนึ่งนะครับ คุณภาพของไฟล์เวลาใช้ Night Mode เนี่ย แก้วหยิบเลนส์ตัวนี้ออกมาถ่ายภาพ บ่อยกว่า Ultra Wide Angle ใน Flagship ตัวอื่น ๆ ที่เปิดตัวไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้ซะอีก

นอกจากนั้น Features ประเภท Long Exposure ก็มีมาให้เราใช้งานเช่นเดียวกัน โดยจะมีด้วยกัน 3 รูปแบบคือ ลากเส้นไฟถนน | ถ่ายน้ำตกให้นุ่ม | ถ่าย Light Painting แต่พวกฟีเจอร์การถ่ายดาวนั้น ไม่มีนะครับ ใครอยากถ่ายดาว ไปใช้ Mode Pro ตั้งค่าเอง

การถ่ายภาพโดยใช้ Mode Long exposure เราสามารถถือถ่ายแบบ Handheld ได้นะครับ แต่ขอให้มือนิ่งจริง ๆ นะ เพราะว่า มันยังมีโอกาสที่จะเกิด Motion Blur ได้อยู่บ้างครับ

RAW File Performance : ประสิทธิภาพของ RAW File

การใช้งานถ่ายภาพด้วย RAW File ใน OnePlus 11 จะสามารถเข้าใช้งานได้ผ่าน Mode Pro และสามารถจะเลือกรูปแบบไฟล์ได้ 2 ลักษณะก็คือ RAW ปกติ ที่จะเป็น Sensor RAW และ RAW Plus หรือ Turbo RAW ที่จะมีการใส่ Picture Profile เข้าไปให้เล็กน้อย และ Software Noise Reduction จะทำงานด้วย ช่วยให้พวกจุดรบกวนจะต่ำกว่า

การถ่าย RAW File เราสามารถใช้งานได้ในกล้องหลังทุกกล้อง โดยคุณภาพของไฟล์ก็จะคล้าย ๆ กับ Night Mode คือ ลดหลั่นกันลงไป กล้องหลักดีที่สุด รองลงมาคือ Telephoto 2x และปิดท้ายด้วย Ultra Wide Angle

ระยะ Telephoto 2x เป็นอีกหนึ่งระยะที่แก้วชอบเอา RAW File ออกมาใช้ถ่ายภาพ เพราะนอกจากจะได้ Perspective ที่สวยแล้ว พอมันมี Depth of field มันทำให้ภาพมีมิติมากขึ้น คุณภาพไฟล์ความยืดหยุ่น ใกล้เคียงกล้องหลักมาก ๆ

ความยืดหยุ่นของ RAW File ใน Telephoto 2x ทำได้ดีถึงขนาดว่า แก้วลองตั้งใจ วัดแสง แล้วถ่ายออกมาให้ติด Under เพื่อที่จะเอามาลองดึงแสงทีหลัง ผลลัพท์ที่ได้ ก็คือ น่าพอใจมาก ได้ Detail กลับมาค่อนข้างดี โดยที่มี Noise ตามมาไม่เยอะ

ในแง่ของความยืดหยุ่นของไฟล์ แก้วต้องบอกว่าอยู่ในระดับที่ใช้งานได้ดี แต่ยังเจอ Issue หนึ่งเหมือนใน Mode Portrait ก็คือ การวัดแสงแบบอัตโนมัติ จะติด EV+1 อยู่ตลอด ทำให้ถ้าเราเจอสภาพแสงที่แดดแรง แสงเข้ม ๆ โอกาสที่ส่วน Highlight จะหลุดจะเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ซึ่งแก้วได้ลองพยายามดึงกลับละนะ ดึงไม่ไหว ทำมากไปไฟล์ก็เสีย เลยแนะนำว่า ให้วัดแสงเอง โดยเปิด Histogram ช่วยดีที่สุดครับ

ขนาดไฟล์โดยเฉลี่ยของ RAW File ใน OnePlus 11 อยู่ในระดับที่ค่อนข้างโอเคเลยนะ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15mb - 20mb ซึ่งไม่กิน Storage เครื่องมากเกินไป สามารถจะถ่าย RAW เป็นประจำได้เลย โดยที่ไม่ต้องกลัวเครื่องเต็มไว

FRONT CAMERA : กล้องหน้าความละเอียด 16MP

กล้องหน้าความละเอียด 16MP ด้วย Spec ประมาณนี้ เราจะเจอได้ตั้งแต่ Smartphone ระดับกลางจากหลาย ๆ แบรนด์ทั้งในปีนี้ และปีที่ผ่านมา หลายตัวเลยทีเดียว สำหรับการใช้งานภาพนิ่ง การ Selfie ทั่ว ๆ ไป แก้วว่าก็ใช้ได้นะ ไม่แย่เลย เพราะอย่างที่หลาย ๆ คนก็รู้กันว่า กล้องหน้าไม่ใช่ส่วนที่ OnePlus เน้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว

ลักษณะของ Beauty Mode ในกล้องหน้า จะทำงานคล้าย ๆ กับกล้องหลัก คือ การเกลี่ยผิว จะไม่ได้ลบ Texture ของ Skin ออกไป แต่จะทำให้สม่ำเสมอ ดูเรียบเนียน เป็นธรรมชาติมากขึ้นเท่านั้น ส่วน Skintone เวลาที่เรา Selfie ค่อนข้างจะให้โทนที่ดูสว่าง ติดอมชมพูนิด ๆ

การละลายฉากหลัง สามารถปรับ f/stop ได้เหมือนในกล้องหลังเลย แต่ลักษณะการจำลองการเบลอ อาจจะไม่ได้มีการไล่ระดับที่ดูเป็นธรรมชาติเหมือนกล้องหลังนะครับ แต่การตัดขอบตามเส้นผม ก็ทำได้โอเคตามมาตราฐาน อาจจะมีหลุด ๆ บ้างถ้าเจอสภาพแสงยาก ๆ

VIDEOGRAPHY : การถ่ายวีดีโอ

การถ่าย Video ใน OnePlus 11 ความละเอียดสูงสุดที่ถ่ายได้จะอยู่ที่ 8K 24fps นะครับ ซึ่งระบบกันสั่นจะถูกตัดออกเวลาถ่ายด้วยความละเอียดสูงสุดนะครับ เหมาะกับการตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องในการถ่ายมากกว่า เดินถือถ่ายไม่เหมาะเลย

นั่นทำให้ Setup ในการถ่าย Video ที่แก้วแนะนำให้ใช้งานก็คือ 4K 30fps เพราะว่า ระบบโฟกัส และกันสั่น ยังทำงานได้เต็มที่ ในกล้องหลัก และ กล้อง Ultra Wide Angle นะครับ ส่วน Telephoto 2x ไม่สามารถถ่าย 4K ได้ เวลาเรากด 2x จะเป็นการ Crop Zoom จากเลนส์หลักเข้าไป ซึ่งน่าเสียดายมาก ๆ แต่ก็แอบไม่แปลกใจเท่าไหร่ เพราะว่า 2x ที่ใส่มาให้นั้น เวลาไปอยู่ในกล้องหน้าของแบรนด์อื่น ก็ไม่มีตัวไหนเลย ที่ถ่าย 4K ได้

กันสั่น OIS ของกล้อง Main camera และ Ultra Wide Angle ทำงานได้ค่อนข้างดี อาจจะมีอาการ Jerk นิด ๆ ในแนวตั้ง แต่ไม่ได้ถึงขนาดว่าจะกวนสายตาได้ พอ ๆ กับกันสั่น Smartphone Flagship ที่เราเห็นในปีที่ผ่านมา


จุดที่แก้วชอบ และไม่ชอบในเวลาเดียวกัน ก็คือ LOG Profile คือ คุณภาพของ LOG Profile มันอยู่ในระดับที่เอาไปใช้ถ่ายงานจริง ๆ จัง ๆ ได้เลย อย่างตอนที่แก้วทดสอบ ก็ได้เอาไปใช้เป็นกล้อง 2 ในการถ่ายรีวิว ของชิ้นอื่น ความน่าเสียดายมันอยู่ที่ เราถูกบังคับให้ถ่ายใน Ratio 21:9 เพียงอย่างเดียว ซึ่งมันทำให้ รายละเอียดด้านบน และ ด้านล่างมันโดน Crop ออกไป อย่างให้ในส่วนนี้มันปรับได้จะดีมากเลยครับ

การถ่าย Video ในกล้องหน้า จะได้ความละเอียดสูงสุดที่ 1080p 30fps ซึ่งเอาจริง ๆ นะ ก็แอบน้อยเกินไปแล้วสำหรับปี 2023 นี้ และคุณภาพของเสียงไมโครโฟน อยู่ในระดับที่ค่อนข้างธรรมดา ไม่แย่ แต่ก็พูดคำว่าดีได้ไม่เต็มที่เท่าไหร่

PERFORMANCE | ประสิทธิภาพ

สำหรับ Performance ของตัวเครื่อง OnePlus 11 ตัวนี้ นี่เป็น Smartphone รุ่นที่ 3 ที่ใช้ Snapdragon 8 Gen 2 ที่แก้วได้จับใช้งานมาในปีนี้ ซึ่งในเรื่องของความแรง คือ หายห่วงอยู่แล้วในทุกสภาพการใช้งานเลย ตั้งแต่ใช้งานทั่วไป เล่นเกม ถ่ายภาพ ถ่าย Video สบาย แก้วเคยตั้งถ่าย 4K 30fps เสียบสายชาร์จทิ้งไว้ 40 นาที ไม่ตัด ไม่ร้อน Happy มาก

Oxygen OS 13.0 ก็เป็นระบบปฏิบัติการที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มี Shortcut ต่าง ๆ ให้ใช้งานครบถ้วน พวก Control Station ด้านบนเหมือนกับพี่น้องอย่างแบรนด์ OPPO เลย พวก Icon ต่าง ๆ ก็สามารถ Custom Shape ตามที่เราต้องการได้ครับ

ในเรื่องของการใช้งานด้าน Entertainment เวลาเอามาดู Content Streaming หน้าจอแสดงผลสิ่งต่าง ๆ ได้ดีมาก ๆ สีสันคมชัด สวยงาม แต่สิ่งที่อาจจะทำให้ Experience การใช้งานด้านนี้ Drop ลงเล็ก ๆ เพราะว่า เสียงของลำโพงที่ ถ้าให้คะแนน แก้วคงให้แค่ 7/10 เท่านั้น ในเรื่องของความดัง ไม่มีปัญหา ดังสู้เจ้าอื่นได้สบาย โทนสีต่ำของข้างแบน Sound Stage มิติตัวเสียงไม่กว้าง และเมื่อเปิดดังสุด อาการ Peak จน Detail หายของลำโพง สามารถสัมผัสได้ชัดเจน

ในเรื่องของการเล่นเกม โอ้โห อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่แก้วต้องชม OnePlus 11 จริง ๆ เป็น Smartphone ในช่วงราคานี้ที่เล่นเกมได้ดีมาก ๆ เมื่อเทียบกับ Smartphone ที่ใช้ Chipset เดียวกันที่เปิดตัวออกมาก่อนหน้านี้ ตัวนี้ ให้ประสบการณ์ที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น การจัดการความร้อนที่ อยู่ในห้องแอร์เย็นเจี๊ยบ หรือ ถ้าเป็นอุณหภูมิห้องปกติ ก็รักษาระดับได้ดี ไม่ร้อนมือ และแบตเตอรี่ที่น่าประทับใจ แก้วเล่นเกม Time Raiders , Eversoul ประมาณ 2 ชั่วโมงเต็ม ๆ ที่แสงหน้าจอ 50% แบตเตอรี่ลดไป 16% เท่านั้น

สำหรับ Battery Life ในภาพรวม นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทาง OnePlus ทำได้ค่อนข้างดีมาก เมื่อเทียบกับ Generation ที่แล้ว ในวันที่แก้วออกไปถ่ายภาพเพื่อมาทำรีวิวให้กับทุกคนได้ดู แก้วเปิดแสงหน้าจอเกือบ 100% ตลอดเวลา 5G Standby เริ่มตอนบ่าย 2 มาจบที่ประมาณ 5 โมง แบต ลดไปแค่ 31% ซึ่งถ้าเป็นการใช้งานทั่วไป ถือว่า Reliable มาก ๆ ครับ

OVERVIEW & OPINION

OnePlus 11 เป็น Smartphone เรือธงที่ ให้ (เกือบ) ทุกอย่างที่ Smartphone เรือธงต้องมี และทำได้ดีมาก ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Chipset Snapdragon 8 Gen 2 พร้อมระบบระบายความร้อนที่ดีมาก ทำให้การใช้งานลื่นไหล ได้ตลอดวัน โดยไม่รู้สึกว่า เครื่องร้อนจนหงุดหงิด หรือ แบตไหลเลย

กล้องถ่ายภาพที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ทั้ง Sensor และ Optic อีกทั้งยังเป็น Generation ที่ 3 แล้วที่ทาง OnePlus ได้จับมือ กับทาง Hasselblad ในการพัฒนาเรื่องของการถ่ายภาพ และเป็น OnePlus 11 นี่แหละ ที่มันดูลงตัว และเข้ารูปเข้ารอยมาที่สุด ทั้งเรื่องของโทนสีภาพ และ Software ช่วยเหลือต่าง ๆ


ชุดกล้องหลังให้มาครบทุกระยะ และในแต่ละระยะนั้นก็ใช้ Sensor ที่คุณภาพค่อนข้างสูง ทำให้เวลาถ่ายภาพออกมาได้ มัน Reliable ไว้ใจได้ในทุกกล้อง แต่ Character ของภาพที่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละคนนะว่าจะชอบไหม ? เพราะว่า OnePlus 11 ตัว Color Profile หลังจากกดถ่ายใน Mode Auto คือ เน้นความสำเร็จรูปเลย ภาพคม สีสวย เฉลี่ยแสงกำลังดี ลบจุดรบกวนออกไปเพื่อความใส ทำให้ในบางสภาพแสง เราอาจจะรู้สึกถึงความ Unnatural ได้บ้าง ซึ่ง ถ้าชอบความเป็นธรรมชาติจริง ๆ ยังมี RAW File ที่ความยืดหยุ่นสูง ๆ ให้เลือกใช้งานในการถ่ายภาพได้ครบทุกระยะเลนส์

การถ่ายภาพ Portrait ที่ดีที่สุดตั้งแต่ OnePlus เคยทำมา สิ่งที่ทำให้มันดีขึ้นชัดเจนขนาดนี้ มีอยู่ 2 จุดด้วยกันก็คือ OnePlus ตัดสินใจใส่เลนส์ Telephoto 2x เข้ามาให้ และ Software ในการถ่ายภาพ Portrait ทั้งส่วนที่ทำเรื่อง Skintone และ Blur ฉากหลัง ทำงานได้ดีมาก ๆ โดยที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตัวเองเอาไว้ ไม่ดูหน้าใจปิ๊งอมชมพูจนเกินไป และก็ไม่ได้ดู Dramatic จนเกินไป หา Position ที่แตกต่างให้ตัวเองยืนได้ดี


สิ่งเดียวที่อยากจะขอจาก OnePlus จริง ๆ มีแค่ 2 เรื่องก็คือ อยากได้ลำโพงเสียงดี ๆ กับ Wireless Charge จังเลยค๊าบ ขอแค่นี้จริง ๆ

OnePlus 11 วางจำหน่ายด้วยกันทั้งหมด 2 รุ่นย่อย
  • RAM 8GB + Storage 128GB | Color : Titan Black ราคา 29,990 บาท

  • RAM 16GB + Storage 256GB | Color : Eternal Green ราคา 32,990 บาท

 

[ ติดตาม Mobile Photographer ได้ที่ ]

IG : kaew.ravie

0 ความคิดเห็น
bottom of page